Spots
2016.02.24
Green Tea : ชาเขียว
แหล่งปลูกชาเขียว
40% ของชาเขียว ซึ่งดื่มกันในญี่ปุ่นมีที่มาจาก Shizuoka จังหวัด Shizuoka เป็นจังหวัดที่ปลูกชาเขียนเป็นอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ชาว Shizuoka จึงนิยมดื่มชาเขียวตั้งแต่เด็กๆ เรียกว่า "ดื่มกันแทนน้ำเปล่า" ดังนั้นการวิจัยเรื่องสุขภาพมีผลออกมาว่า ชาว Shizuoka มีอัตราเป็นโรคมะเร็งน้อยที่สุดในประเทศ
ปกติแล้วถ้าพูดถึงชาเขียว คนทั่วไปก็คงจะนึกถึงแต่ชาเขียวที่วางขายกันทั่วไป ซึ่งกลายเเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า "Ryokucha" แปลว่าชาที่มีสีเขียวนั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด
ฤดูกาลของการเก็บใบชา
ใบชาอ่อนที่เก็บหลังจากเร่ิมฤดูใบไม้ผลิแล้วราว 88 วัน เรียกว่า "Ichiban-cha" คือใบชาแรกผลิ ซึ่งเด็ดเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนั้น รสหวาน มีกลิ่มหอม
ช่วงเวลาของการเก็บใบชาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา คือ
"Ichiban-cha" การเก็บใบชาช่วงแรก (ช่วงเวลาประมาณวันที่20เมษายน-20พฤษภาคม)
"Niban-cha" การเก็บใบชาช่วงที่สอง (ช่วงเวลาประมาณวันที่10มิถุนายน-5กรกฏาคม)
"Sanban-cha" การเก็บใบชาช่วงที่สาม (ช่วงเวลาประมาณวันที่20กรกฏาคม-5สิงหาคม)
"Yonban-cha" การเก็บใบชาช่วงที่สี่ (ช่วงเวลาประมาณวันที่25กันยายน-15ตุลาคม)
เพลง "Chatsumi"
ในเวลาเก็บใบชา นิยมร้องเพลงที่ชื่อว่า "Chatsumi" (การเก็บใบชา) เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าระหว่างการทำงาน และสิ่งที่สำคัญของการร้องเพลงคือ ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างเพื่อนบ้านที่ทำงานร่วมกัน
♪ มาถึงแล้วซิซุโอกะ ถิ่นปลูกชาญี่ปุ่นชื่อดัง
มองไปไหนพบแต่สาวสาว เก็บใบชาจนน่าทักจัง
สาวชุดแดงแสร้งยิ้มไปมา ด้วยท่วงท่าที่ไม่เหนื่อยล้า
ยอดใบชาส่งต่อมา สุขนักหนาเมื่อชิม ♪
ชนิดของชาเขียว
ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด สามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก วิธีการผลิตและช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว
Gyokuro
ชาเขึยวที่คุณภาพสูงสุดของประเทศ ลักษณะต้นชา "Gyokuro" จะสูงกว่าชาชนิดอื่นๆ
วิธีการเก็บต้องใช้มือเท่านั้นโดยเก็บยอดอ่อนแรกแค่ครั้งเดียว
ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 เดือน ต้องใช้ตาข่ายดำหรือฟางคลุมเพื่อป้องกันแสงแดด ทำให้ได้รสชาติหวานไม่ขม มีกรดอะมิโนสูง
สำหรับแหล่งปลูกชา Gyokuro ในญี่ปุ่นมีสามที่เท่านั้น คือ เมือง Uji ใน Kyoto
เมือง Yame ใน Fukuoka และเมือง Fujieda ในจังหวัด Shizuoka
ชา Gyokuro ประเภทนี้นิยมใช้พิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก
โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชา Gyokuro ไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น
Sencha
ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากชาเขียว Gyokuro
Sencha เป็นชาเขียวที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน
มีการผลิตชา Sencha มากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด
ใน Shizuoka มีแหล่งปลูกมากว่า 20 แห่ง
Sencha ใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สอง เป็นใบชาที่มีการปลูกด้วยการรับแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว
เมื่ออบไอน้ำนานกว่า 2-3 เท่า ทำให้ได้สีและรสชาติที่เข้มมากว่า Sencha ซึ่งเรียกว่า
"Fukamushach"
Bancha : Hojicha
ชาเขียวที่มีคุณภาพต่ำที่สุด เนื่องจากใช้ใบชาส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในช่วงแรกและช่วงที่สอง
ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็งไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง
มีรสชาติขมกว่า Gyokuro และ Sencha
เมื่อนำ Bancha ไปอบด้วยความร้อนในอุณภูมิที่พอเหมาะจะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง
ซี่งเรียกว่า "Hojicha"
Genmaicha
นำ Bancha ไปผสมกับข้าวกล้องคั่ว
Mugicha
ชาที่ทำจากข้าวบาร์เลต์ที่ผ่านการอบแห้งในเตาพร้อมเปลือก
นิยมนำมาแช่เย็น ดื่มในฤดูร้อน