Spots
2016.02.22
YAMADA NAGAMASA
เมื่อกล่าวถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น มักจะให้นีกถึงโชกุน Tokugawa Ieyasu เป็นโชกุนคนแรกของตระกูล Tokugawa ที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งยังสถาปนารัฐบาลทหาร (bakufu) ขึ้นที่เมือง Edo (Tokyoในปัจจุบัน) อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุค Edo ในปีค.ศ.1603
แต่สำหรับชาว Shizuoka ต้องให้นึกถึงซามูไรคนหนึี่งที่เกิดเมือง Suruga (Shizuokaในปัจจุบัน) และเข้าไปได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุขในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ Yamada Nagamasa นั่นเอง
Yamada Nagamasa เดินทางเข้ามายังสยามในสมัยอยุธยา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเดินทางมาเมื่อใด นักวิชาการพูดกันว่า Yamada Nagamasa มีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นปรัมปรานิทานหรือไม่ แต่มีหลักฐานแน่ชัดว่า Yamada Nagamasa ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่นนานถึง ๑๐ปี
ชาว Shizuoka รับรู้เรื่องราวของ Yamada Nagamasa ในฐานะวีระบุรุษ เป็นคนที่จิตใจกล้าหาญ ซื่อสัตย์ กตัญญู และพร้อมที่จะตายในหน้าที่อย่างกล้าหาญ ซึ่งก็คือ สัญญลักษณ์ของความสัมพันธ์สองแผ่นดิน สร้างความสัมพันธ์แห่งมิตรภาพที่อบอุ่นระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ป่น จิตวิญญาณสูงสุดที่ทั้งชาว Shizuoka และชาวไทยต้องสำนึกจากออกญาเสนาภิมุข
อาทิตย์ที่สองของเดือนตุลาคมชองทุกปี ย่านการค้าถนน Sengen (Sengen Dori) จัดงานเทศกาล Yamada Nagamasa ให้ขึ้นเพื่อระลึกถึงวีระบุรุษ Yamada Nagamasa
ที่ถนน Sengen ที่ยาวเกือบกิโลเมตรปิดถนนวางของกินของใช้ทั้งสองฝั่ง
คุณจะได้เห็นชาว Shizuoka สวมชุดไทยขายคนเต็มไปหมด
สัมตำ ไก่ย่าง แกงเขียวหวานก็มีให้เห็น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดยม จังหวัดอยุธยา แสดงขบวนประกาศชัยชนะ
ในการรบของกองอาสาญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ ๑๗
ผู้ที่นั่งอยู่บนคอช้างตัวที่ ๒ ได้แก่ Yamada Nagamasa